สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 มกราคม 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.)ครั้งที่ 1/2562เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map)(9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62(5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2)โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,886 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,807 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,696 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,675 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 31,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,890 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,770 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,094 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,758 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,099 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,862  บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 104 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,265 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,306 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 41 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 433 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,965 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 434 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,977 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,175 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,097 บาท/ตัน ) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 78 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.9429
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
ปี 2563 ถือเป็นปีแห่งวิกฤตของอุตสาหกรรมข้าวไทยอีกครั้ง หลังจากเวียดนามส่งข้าว ST24 คว้ารางวัล World’s Best Rice ในการประกวดข้าวโลก 2019 และจีนได้เปลี่ยนสถานะจากผู้นำเข้ารายใหญ่มาเป็นผู้ส่งออก
รองจากอินเดีย อีกทั้งเวียดนามและพม่าเริ่มส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดโลกมีความต้องการข้าวปริมาณเท่าเดิม
ทั้งนี้ สาเหตุที่ข้าวไทยมีแนวโน้มส่งออกได้น้อยลงในตลาดโลกนั้น เพราะหลายประเทศเริ่มมีผลผลิตข้าวคุณภาพส่งออกในราคาที่ถูกกว่า หรือเป็นเพราะข้าวไทยคุณภาพเริ่มด้อยลง ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องหาคำตอบ
รศ.สมพร  อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองแห่งชาติ มองว่าปัญหาข้าวไทยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าหลายประเทศมีข้าวคุณภาพดี เพราะข้าวไทยก็มีคุณภาพดีและมีความนุ่มเหมือนเดิม แต่กลิ่นกลับหอมน้อยลง คุณภาพความหอมที่หายไปส่งผลให้ตลาดจีนหันไปซื้อข้าวเวียดนามมากขึ้น มิหนำซ้ำปีที่ผ่านมา ข้าว ST24 จากเวียดนามคว้าแชมป์ข้าวโลกไปครอง ยิ่งทำให้ตลาดข้าวไทยสั่นคลอนมากขึ้น เพราะเวียดนามมีการเตรียมพร้อมมาอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพันธุ์ การส่งเสริมให้ชาวนาปลูกพันธุ์ ST24 เต็มพื้นที่เพื่อเตรียมโหมถล่มตลาดกลุ่มข้าวหอม
ขณะที่ไทยยังหลงตัวเองว่าข้าวหอมมะลิไทยดีที่สุด ไม่มีข้าวชาติใดสู้ได้ จึงละเลยไม่ดูแลความหอมของข้าวและขายข้าวราคาสูงกว่าประเทศอื่น จึงทำให้ตลาดหดตัว ซึ่งในระยะยาวจะทำตลาดยาก
หลายประเทศมีนโยบายที่ชัดเจนในการวิจัยพัฒนาคุณภาพข้าว อย่างเวียดนามสามารถปรับปรุงคุณภาพความนุ่มได้เทียบเท่าข้าวหอมมะลิ ยังเหลือแต่ความหอมเท่านั้น หากปรับปรุงพันธุ์สำเร็จเมื่อไร ตลาดข้าวหอมมะลิไทยสั่นคลอนแน่ ส่วนกัมพูชามุ่งมั่นพัฒนาข้าวหอมพันธุ์ผกามะลิ ซึ่งมี DNA เดียวกับหอมมะลิ 105 เพื่อให้คุณภาพข้าวใกล้เคียงกับไทย
ขณะเดียวกัน ประเทศจีนที่มองว่าเป็นฐานนำเข้าข้าวหลักจากไทย เวลานี้มุ่งมั่นพัฒนาข้าวหอมพันธุ์ต้าหัวเชียง ที่คุณภาพใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิไทย แต่ราคาซื้อขายถูกกว่าหอมมะลิ
สัญญาณการพัฒนาข้าวพื้นนุ่ม (ข้าวหอม) เริ่มสั่นรัวมากขึ้นจากรอบบ้าน รวมทั้งตลาดรองรับเองที่วันนี้มีการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ ขณะที่ไทยย่ามใจหลงตัวเอง ไม่มีการวิจัยพัฒนาเรื่องความหอมให้กลับคืนมา ทั้งที่เป็นเรื่องที่พูดกันมาหลายปี มิหนำซ้ำรัฐยังแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตที่ผิดๆ ด้วยวิธีการจ่ายเงินสนับสนุน ในระยะยาวนอกจากรัฐ
จะจ่ายเงินไปได้นานแค่ไหน วิธีการนี้ยังทำให้อุตสาหกรรมข้าวไทยไม่เข้มแข็ง ไม่เติบโต
ส่วนการแก้ปัญหาด้วยวิธีประกันรายได้ ยกระดับราคาจ่ายส่วนต่าง ในอนาคตวงการข้าวไทยล่มสลายแน่นอนเพราะชาวนาไม่มีความเข้มแข็ง ไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างแท้จริง โดยเฉพาะสถานการณ์ข้าวในวันนี้ที่ตลาดข้าวเปลี่ยน แต่โครงการผลิตข้าว/นโยบายดูแลอุตสาหกรรมข้าวไทย ยังอยู่บนแพลตฟอร์มเดิมบนฐานความคิดแบบเดิมๆ ไม่ทันกับความพลวัตของตลาด
นโยบายข้าวไทยวันนี้ ยังเป็นเพียงนโยบายปะผุแก้ปัญหาในระยะสั้น ไม่นานไทยจะหลุดออกจากตลาดผู้ส่งออกข้าวอย่างแน่นอน
“ไทยมีข้าวหอมมะลิ 105 ที่ดีที่สุด แต่ไม่รู้จักนำมาพัฒนาให้เป็นพันธุ์การค้าที่มีผลผลิตต่อไร่สูง ขณะที่เวียดนามเฝ้าจับตาข้าวไทยมาอย่างต่อเนื่อง มีการตั้งเป้าวางนโยบายอย่างมุ่งมั่น ทุก 2-4 ปี ต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ดีขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปี 2560 เริ่มเห็นข้าวพันธุ์ DT7 คุณภาพความหอมนุ่มใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิไทย ผลผลิต 1.2 ตันต่อไร่ แต่ราคาซื้อขายถูกกว่าข้าวไทยครึ่งต่อครึ่ง ทำให้ตลาดเริ่มเปลี่ยนทิศหันไปซื้อข้าวหอมเวียดนาม”
ดร.วัลลภ  มานะธัญญา ประธานบริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด ชี้ให้เห็นปัจจัยหลักที่ทำให้ข้าวไทยเริ่มขายได้น้อย ขณะที่เวียดนามส่งออกได้มากขึ้น คุณภาพใกล้เคียงกัน แต่เราขายแพงกว่า ใครที่ไหนจะมาซื้อ หากไทยต้องการครองตลาดข้าว ต้องรักษาคุณภาพโดยเฉพาะในเรื่องความหอม ถึงแม้ราคาจะสูงกว่าเพื่อนบ้านก็สามารถครองตลาดข้าวเกรดพรีเมียมได้ เพราะข้าวไทยมีชื่อเสียงเป็นที่น่าเชื่อถือ แต่หากยังละเลยกันอยู่อย่างนี้ อีก 3 ปีจากนี้
ข้าวไทยมีโอกาสถูกเบียดตกเวที กลายเป็นข้าวหอมในตำนานอย่างมิต้องสงสัย
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ไทย
ร.ต.ท.เจริญ  เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมประจำเดือนมกราคมนี้ สมาคมฯ จะหารือถึงสถานการณ์การส่งออกและความสามารถการแข่งขันของข้าวไทยในระยะยาว เนื่องจากพบว่า ปริมาณส่งออกข้าวไทยถดถอยลงมาก ซึ่งมาจากปัจจัยสำคัญ คือ 1. เงินบาทไทยแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งกว่าร้อยละ 10 ทำให้ราคาส่งออกข้าวของไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งร้อยละ  40-45 เช่น ข้าวหอมมะลิ คู่แข่งส่งออกในราคาตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ราคาข้าวหอมมะลิไทยตันละ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเรื่องนี้อยากให้รัฐบาลออกมาดูแล
เน้นในเรื่องไม่ผันผวนเร็วและค่าเงินไม่ควรแข็งค่าเกินคู่แข่ง 2.ความหลากหลายของชนิดข้าวไทยน้อยกว่าคู่แข่ง ขณะนี้ความต้องการข้าวพื้นนิ่มกำลังเป็นที่นิยมของตลาดนำเข้าโดยเฉพาะตลาดหลักอย่างจีน อาเซียน สหรัฐ หรือยุโรป
ทำให้การสั่งซื้อข้าวไทยลดน้อยลงมาก ปัจจุบันคุณสมบัติข้าวไทยเปลี่ยนไปมาก เช่น ความหอมของข้าวหอมมะลิลดลง ความสวยงามของเมล็ดข้าวลดลง ถึงเวลาแล้วที่ไทยควรมีเจ้าภาพในการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก รวมถึงวางแผนการทำตลาดในระยะยาว จึงเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมมือกับภาคเอกชน และกุล่มเกษตรกร ในการวางแผนครบวงจรให้สอดคล้อง ตั้งแต่
การพัฒนาพันธุ์ข้าว การเพาะปลูก การผลิต และการตลาด 3. ปัญหาสารตกค้าง กำลังเป็นที่ตื่นตัวของประเทศผู้นำเข้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยต้องควบคุมและดูแลอย่างเข้มงวด ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตถึงการแปรรูป
ร.ต.ท.เจริญ กล่าว “บาทแข็งและข้าวไทยไม่ตอบโจทย์ประเทศผู้นำเข้าโลกที่กำลังเปลี่ยนไปมาก ทำให้ไทยสูญเสียความเป็นผู้นำอันดับต้นๆ ของการส่งออกข้าวโลก ปกติในช่วง 1-2 เดือนสุดท้ายของปี ข้าวไทยควรส่งออกได้เดือนละ 9 แสนตัน ถึง 1 ล้านตัน แต่ปีนี้เหลือ 5-6 แสนตัน ในขณะที่ซื้อจากเวียดนามถึง 1.3 ล้านตัน ทำให้ปี 2562 คาดว่าตัวเลขการส่งออกของไทยต่ำกว่า 8 ล้านตัน จากเป้าหมาย เหลือ 7.8 ล้านตัน ส่วนปี 2563 คงต้องหารือ
ในสมาคมก่อน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเฉลี่ยที่ไทยควรส่งออกคือ 8.5-9 ล้านตัน ซึ่งการส่งออกไทยมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำไปหารือกับกระทรวงพาณิชย์ต่อไป”
นายกีรติ  รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เร็วๆ นี้จะนำหารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ถึงข้อเสนอของภาคเอกชนที่ต้องการให้ไทยเพิ่มการพัฒนาและผลิตชนิดข้าวที่ตลาดโลกต้องการ โดยเฉพาะข้าวพื้นนิ่ม แม้ไทยเริ่มบ้างแล้วแต่ยังน้อยมาก อาจทำให้ไทยเสียตลาดส่งออกข้าวได้ และเตรียมหารือเอกชนที่จะผลักดันการส่งออกข้าวในปี 2563 ให้เกิน 8 ล้านตัน
ที่มา: มติชนออนไลน์


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.87 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.28 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 291.20 ดอลลาร์สหรัฐ (8,719 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 299.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,930 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.61 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 211 บาท  
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 384.56 เซนต์ (4,600 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 389.30 เซนต์ (4,647 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 47 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนมกราคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.22 ล้านตัน (ร้อยละ 16.58 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.99 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.01 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.00
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.36 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.24
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.04 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.33
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 13.63 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,930 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,979 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,747) ราคางทรงตัวกับเท่ากับวัปดห์ก่อน (13,545 บาท/ตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน
 


อ้อยและน้ำตาล

 
1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ         
          
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อย และการผลิตน้ำตาลทรายประจำปีการผลิต 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 23,007,959 ตัน แยกเป็นอ้อยสด 12,254,447 ตัน และอ้อยไฟไหม้ 10,753,512 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 2,281,656 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 1,891,733 ตัน  และน้ำตาลทรายขาว 389,923 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 11.84 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 99.17 กก.ต่อตันอ้อย
 

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ          
          รายงานการส่งออกน้ำตาลของบราซิล
          กระทรวงการค้าบราซิล รายงานว่า ในเดือนธันวาคม 2562 บราซิลส่งออกน้ำตาลจำนวน 1,489,283 ตัน (มูลค่าน้ำตาลทรายดิบ) ลดลงจาก 1,969,790 ตัน ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ร้อยละ 24.39 และลดลงจาก 1,602,361 ตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.06


 

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.33 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์การผลิตถั่วเหลืองของบราซิล
กระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) รายงานว่า บราซิลจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในฐานะผู้ผลิตถั่วเหลืองชั้นนำ
ของโลกในปีการเพาะปลูก 2562/2563 โดยคาดว่าจะมีพื้นที่การเพาะปลูก 36.80 ล้านเฮกตาร์ ผลผลิตถั่วเหลือง
ที่ผลิตได้ 123.5 ล้านตัน และปริมาณการส่งออก 75.00 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 934.0 เซนต์ (10.43 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 939.0 เซนต์ (10.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 296.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 298.35 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.05 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 34.43 เซนต์ (23.05 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 34.84 เซนต์ (23.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.18

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.80 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 26.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.92
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.00
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 17.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.76
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.33
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,034.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน เฉลี่ยตันละ 1,034.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.93 บาท/กิโลกรัม) แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาท กิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 933.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน เฉลี่ยตันละ 933.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.92 บาท/กิโลกรัม) แต่เพิ่มขึ้นในรูปเงินบาท กิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,101.60 ดอลลาร์สหรัฐ (32.99 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,034.40  ดอลลาร์สหรัฐ (30.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.50 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 665.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.91 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 597.80 ดอลลาร์สหรัฐ (17.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.24 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,161.80 ดอลลาร์สหรัฐ (34.79 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,028.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.95 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 4.03 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 8.78
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 6.30
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 69.94 เซนต์(กิโลกรัมละ 46.85 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 69.20 เซนต์ (กิโลกรัมละ 46.26 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.59 บาท
 
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,800 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,739 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.46
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,468 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,417 บาทจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.63
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 783 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีมากขึ้น เพราะเพิ่งผ่านช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ส่งผลให้ภาวะตลาดสุกรยังคงคึกคักและคล่องตัว  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  65.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.28  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 60.36 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.28 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.31 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 64.93 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,500 บาท (บวกลบ 74 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 2,200 บาท  (บวกลบ 68 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา    ร้อยละ 13.64
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.84

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อ สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อสอดรับกับความต้องการบริโภค  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.30 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา    โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.65 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน   ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.35

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 277 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 278 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 308 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 273 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 271 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 301 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 331 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 328 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.91  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 305 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 370 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 89.41 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.91 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.43 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.30 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.30 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 มกราคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.54 บาท ราคาลดลง           จากกิโลกรัมละ 87.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.49 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย                จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 151.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.74 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 148.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.70 บาท ราคา        สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.79 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 182.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.33 บาท ราคา ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.24 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา